อัตราส่วนทางการเงินที่ผู้ประกอบการควรรู้! ตอนที่2

อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ในตอนที่ 2 นี้เราจะมาดูต่อกันในเรื่องอัตราส่วนทางการเงิน ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสินทรัพย์และการจัดการหนี้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพค่ะ


🔸 1.อัตราส่วนแสดงประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency Ratio) เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ประกอบด้วย

▪️ 1.1 อัตราการหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover) แสดงถึงประสิทธิภาพในการจัดการลูกหนี้ ยิ่งสูง ยิ่งดี แสดงให้เห็นว่า กิจการมีประสิทธิภาพในการจัดการลูกหนี้ได้ดี (มีหน่วยเป็น “รอบ”)

▪️ 1.2 อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover Ratio) เป็นการวัดประสิทธิภาพในการบริหารการจัดการสินค้าคงเหลือ ค่าสูง ยิ่งดี แสดงถึง กิจการมีประสิทธิภาพในการจัดการสินค้าคงเหลือได้ดี สินค้ามีการหมุนเวียนสูง (มีหน่วยเป็น “รอบ”)

▪️ 1.3 อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover Ratio) คือ ความสามารถของกิจการในการใช้สินทรัพย์ถาวร มีประสิทธิภาพเพียงใด หรือธุรกิจใช้สินทรัพย์ถาวรไป 1 บาท จะก่อให้เกิดยอดขายเท่าใด ยิ่งสูงยิ่งดี (มีหน่วยเป็น “รอบ”)

▪️ 1.4 อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover) อัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ทั้งหมด ความสามารถของกิจการในการใช้สินทรัพย์ทั้งสิ้นอย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด ยิ่งสูง ยิ่งดี เมื่อเทียบกับยอดขาย *ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำ แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์มากเกินความต้องการ (มีหน่วยเป็น “ครั้ง” หรือ “เท่า”)



🔸 2. อัตราส่วนวิเคราะห์นโยบายทางการเงิน (Leverage Ratio or Financial Ratio) เป็นอัตราส่วนเพื่อวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ พิจารณาจากหนี้สิน และส่วนของเจ้าของ รวมทั้งความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย ประกอบด้วย

▪️ 2.1 อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์ (Debt Ratio) แสดงให้เห็นว่าในจำนวนสินทรัพย์ทั้งหมดที่กิจการมีอยู่ มีการใช้เงินทุนจากการกู้ยืมบุคคลภายนอกมากน้อยเพียงใด ยิ่งต่ำ ยิ่งดี *ถ้าอัตราส่วนนี้สูง แสดงว่าเงินที่นำมาลงทุนในสินทรัพย์ส่วนมากจากการกู้ยืม มีความเสี่ยงทางด้านการเงิน (มีหน่วยเป็น “เท่า”)

▪️ 2.2 อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (Debt to Equity Ratio) แสดงถึงแหล่งที่มาของเงินทุนว่ามาจากหนี้สินหรือส่วนของเจ้าของ ว่ามีมากน้อยเพียงใด ยิ่งต่ำ ยิ่งดี แสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงในด้านเจ้าหนี้และเจ้าของกิจการ *ถ้าอัตราส่วนสูง แสดงว่ากิจการมีความเสี่ยงจากการกู้ยืมเงินมาใช้ในการดำเนินกิจการ (มีหน่วยเป็น “เท่า”)

▪️ 2.3 อัตราส่วนแสดงความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Times Interest Earned) เป็นการวัดความสามารถของธุรกิจในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ผลคำนวณออกมามีค่าสูง แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูง (มีหน่วยเป็น “เท่า”)

▪️ 2.4 อัตรากำไรต่อหุ้น (Earnings per Share : EPS) เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไร โดยพิจารณาผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นสามัญจะได้รับ ยิ่งสูง ยิ่งดี *ถ้าอัตรากำไรต่อหุ้นสูง แสดงว่ากิจการมีประสิทธิภาพในการทำกำไรดี สามารถให้ผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นสามัญในราคาที่สูง (มีหน่วยเป็น “บาท”)

📌 หลังจากที่เราได้รู้เกี่ยวกับเรื่องอัตราส่วนในตอนที่ 2 นี้แล้ว ทำให้เราสามารถวางแผนบริหารจัดการงบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อธุรกิจที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้ หากบริหารจัดการงบการเงินไม่ดี