วันนี้เรานำ 2 ประเภทอัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratios) ที่ผู้ประกอบการควรรู้มาบอกกันค่ะ
🔸 1. อัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity Ratio) เพื่อวัดสภาพคล่องของกิจการและวัดความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น ▪️ 1.1 อัตราส่วน
เงินทุนหมุนเวียนหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current Ratio) คือ ความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้น ถ้าค่าที่คำนวณได้สูงเท่าใด แสดงว่าบริษัทมีสินทรัพย์หมุนเวียนที่ประกอบไปด้วย เงินสด ลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือ มากกว่าหนี้ระยะสิ้น ทำให้ความคล่องตัวในการชำระหนี้ระยะสั้นมีค่อนข้างมาก โดยปกติ อัตราส่วน 2 : 1 ถือว่าเหมาะสมแล้ว มีหน่วยเป็น "เท่า"
▪️ 1.2 อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio or Acid Test Ratio) เป็นการวัดส่วนของสินทรัพย์ที่ได้หักค่าสินค้าคงเหลือ ที่เป็นสินทรัพย์ระยะสั้นและมีความคล่องตัวในการเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ต่ำสุดออก เพื่อให้ทราบถึงสภาพคล่องที่แท้จริงของกิจการได้ โดยทั่วไปอัตราส่วน 1 : 1 ถือว่าเหมาะสม มีหน่วยเป็น "เท่า"
* สินทรัพย์สภาพคล่องสูง = สินทรัพย์หมุนเวียน-สินค้าคงเหลือ-ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า-รายได้ค้างรับ
🔸 2.ความสามารถในการหากำไร (Profitability Ratio) วัดความสามารถในการทำกำไรของกิจการ ▪️ 2.1 อั
ตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการหากำไรขั้นต้นเมื่อเทียบกับยอดขายสุทธิได้ดี ยิ่งสูงยิ่งดี มีหน่วยเป็น %
▪️ 2.2 อัตรากำไรจากผลการดำเนินงาน (Operating Profit Margin) เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็น ประสิทธิภาพในการหากําไร โดยการเปรียบเทียบกําไรจากการดําเนินงานกับยอดขายสุทธิ ยิ่งสูงยิ่งดี (มีหน่วยเป็น %)
▪️ 2.3 อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ประสิทธิภาพในการบริหารงานของธุรกิจ ยิ่งสูงยิ่งดี มีหน่วยเป็น %
▪️ 2.4 อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของการนําเงินมาลงทุนในสินทรัพย์ ว่าก่อให้เกิดผล กําไรมากน้อยเพียงใด หากมีค่าสูงแสดงถึงการใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ ยิ่งสูงยิ่งดี มีหน่วยเป็น %
▪️ 2.5 อัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) เป็นอัตราส่วนที่แสดงให้เห็นเงินลงทุนในส่วนของเจ้าของว่าจะได้รับผลตอบแทนกลับคืนมาจากการดำเนินการของกิจการนั้นในอัตราส่วนเท่าไร หากมีค่าสูงแสดงถึงประสิทธิภาพในการหากำไรสูงด้วย ยิ่งสูงยิ่งดี มีหน่วยเป็น %
📌 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการธุรกิจควรทราบ เพราะจะทำให้มีข้อมูลทางการเงินช่วยวิเคราะห์ ผลประกอบการ กำไร เพื่อนำไปวางแผนในการดำเนินธุรกิจต่อไป