"Acquire"
ซีรี่ย์ Startups ที่กำลังร้อนแรงมากในเวลานี้มีบทเรียนอะไรบ้างมาติดตามกันค่ะ
1.การรับเงินลงทุนที่หลายๆคนมองว่าคือเส้นชัยอาจไม่ได้สวยหรูงดงามเสมอไป การตรวจทานข้อสัญญาไม่เฉพาะเนื้อหาทางกฎหมายเท่านั้น ต้องมีการพิจารณาถึงผลลัพธ์ของการเข้ามามีอำนาจการควบคุมของนักลงทุนอีกด้วย
2.การที่ทุสโทเข้าซื้อกิจการ (Acquire) ด้วยการซื้อหุ้นจนเข้ามามีอำนาจควบคุม เป็นรูปแบบการ Merger and acquisition รูปแบบหนึ่ง การเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ย่อมมีอำนาจในการปรับเปลี่ยน แต่งตั้ง ถอดถอน ผู้บริหาร หรือแม้กระทัางเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจได้
3. ถ้าจะวิเคราะห์ดีลนี้ลงไป จะพบว่า การที่ทุสโทเข้าซื้อกิจการซัมซานเทคนั้น ไม่ต้องการผลตอบแทนจากธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน แต่ด้วยความที่เป็น Tech Company ต้องการมองหาเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจหรือแผนงานที่ดำเนินอยู่ ดีลนี้ Target จึงเป็นการซื้อกิจการเพื่อได้มาซึ่งเทคโนโลยี คือนักพัฒนา (developer) 3 คนเท่านั้น ไม่ต้องการฝั่งธุรกิจมาด้วยจึงปลด ผู้บริหารและ Designer ที่ไม่จำเป็นออก
4.การขายหุ้นโดยผู้ถือหุ้นเดิมนั้นแตกต่างจากการเพิ่มทุนที่ลงใหม่เข้ามาในบริษัท เพราะถ้าเป็นการขายหุ้นเดิมผู้ถือหุ้นต้องเสียภาษีของเงินได้จากการขายหุ้นด้วย ขึ้นกับกฎหมายและอัตราภาษีของแต่ละประเทศ (ไทยสูงสุดที่ 35%) สิ่งเหล่านี้ต้องเอามาพิจารณาทั้งหมดก่อนจะทำสัญญา
โดยรวมการที่นักลงทุนมาลงทุนในกิจการถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้ธุรกิจมีเงินทุนในการขยายธุรกิจได้ แต่สิ่งสำคัญคือก่อนการลงทุนคือแผนงานในอนาคต วัตถุประสงค์ของการลงทุน กลยุทธ์หลังการลงทุน บทบาท อำนาจการควบคุม การเปลี่ยนแปลง แต่งตั้งถอดถอน ผู้บริหารคนสำคัญ เงื่อนไขการลงทุนและภาระภาษีที่เกี่ยวข้อง
กรณีนักลงทุนมาลงทุนแล้วทุบทีมแตกแยกเอาไปแต่ Core Technology นั้นไม่ได้เกิดขึ้นแค่ใน Series แต่เกิดขึ้นมากมายในโลกธุรกิจจริงทั้ง SMEs และ Startups ทั่วโลก แม้กระทั่งในไทย ตอนต่อไปเราจะมาคุยกันว่าจะรู้ทันนักลงทุนและป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับธุรกิจเราได้อย่างไรนะคะ