👉รู้หรือไม่? กรรมการอิสระ และ กรรมการตรวจสอบต่างกันอย่างไร

👉รู้หรือไม่? กรรมการอิสระ และ กรรมการตรวจสอบต่างกันอย่างไร


คณะกรรมการบริษัทมีบทบาทเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นมีหน้าที่สำคัญในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายและกลยุทธ์ที่สำคัญของกิจการ และดูแลให้มั่นใจว่าฝ่ายจัดการได้นำนโยบายและกลยุทธ์ไปปฏิบัติตามที่กำหนดไว้เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น คณะกรรมการจึงควรประกอบด้วยผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะทำหน้าที่ดังกล่าวอย่าง มีประสิทธิภาพโดยมีองค์ประกอบที่เป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมในการบริหาร และกรรมการที่ไม่มีส่วนร่วมในการบริหารในสัดส่วนที่จะทำให้เป็นคณะกรรมการที่มี ความรู้ความชำนาญที่หลากหลายเหมาะสมกับธุรกิจและมีการถ่วงดุลอำนาจภายในคณะกรรมการของบริษัทเพื่อให้กรรมการทุกคนแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระและไม่ให้มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมีอำนาจเหนือการตัดสินใจของคณะกรรมการบริษัท

🟠กรรมการอิสระ (Independent Director : ID)

มีองค์ประกอบของคณะกรรมการ = มีกรรมการอิสระอย่างน้อยหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมด แต่ต้องไม่น้อยกว่า 3 คน

🌟คุณสมบัติของกรรมการอิสระ

1. ถือหุ้นไม่เกิน 1 % ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของบริษัท* ทั้งนี้ให้นับรวมการถือหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องของกรรมการอิสระรายนั้น ๆ ด้วย

2. ไม่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการที่มีส่วนร่วมบริหารงาน ลูกจ้าง พนักงาน ที่ปรึกษาที่ได้ เงินเดือนประจำ หรือผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัท* เว้นแต่จะได้พ้นจากการมีลักษณะ ดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี

3. ไม่เป็นบุคคลที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด หรือโดยการจดทะเบียนตามกฎหมายของ กรรมการรายอื่น

4. ไม่มีหรือเคยมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทในช่วง 2 ปีก่อนหน้า

5. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทในช่วง 2 ปีก่อนหน้า

6. ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ให้บริการทางวิชาชีพอื่นที่ให้บริการเกิน 2 ล้านบาทต่อปีในช่วง 2 ปีก่อนหน้า

7. ไม่เป็นตัวแทนของกรรมการ ผู้ถือหุ้นใหญ่ ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นใหญ่

8. ไม่ประกอบกิจการที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับบริษัทหรือบริษัทย่อย

9. ไม่มีลักษณะอื่นใดที่ทำให้ไม่สามารถให้ความเห็นอย่างเป็นอิสระเกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท

🟡กรรมการตรวจสอบ (Audit Committee : AC)

มีองค์ประกอบของคณะกรรมการ = มีกรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 3 คน (อย่างน้อย 1 คน ที่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้)

🌟คุณสมบัติของกรรมการตรวจสอบ

1. ได้รับแต่งตั้งจากคณะกรรมการ หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทให้เป็นกรรมการตรวจสอบ

2. มีคุณสมบัติเป็นกรรมการอิสระ

3. ไม่เป็นกรรมการที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการให้ตัดสินใจในการดำเนินกิจการ

4. ไม่เป็นกรรมการของบริษัทใหญ่บริษัทย่อย หรือบริษัทย่อยลำดับเดียวกันเฉพาะที่เป็นบริษัทจดทะเบียน

5. มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ในฐานะกรรมการตรวจสอบ

➡️การดำเนินการเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการตรวจสอบ

▪️เมื่อกรรมการตรวจสอบลาออก : บริษัทมีหน้าที่ต้องแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ทันทีผ่าน ระบบ SETLink พร้อมระบุเหตุผลที่ลาออกด้วย

▪️เมื่อแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ : บริษัทมีหน้าที่แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ผ่านระบบ SETLink ดังนี้

1. แบบแจ้งรายชื่อและขอบเขตการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบ (แบบ F24-1) เพื่อเผยแพร่ต่อผู้ลงทุน ภายใน 3 วันทำการ

2. หนังสือรับรองและประวัติของกรรมการตรวจสอบ (แบบ F24-2) เพื่อเป็นข้อมูล ต่อตลาดหลักทรัพย์ ภายใน 7 วันทำการ

➡️กรณีเปลี่ยนแปลงขอบเขตหน้าที่งานของคณะกรรมการตรวจสอบ : บริษัทมีหน้าที่แจ้ง ต่อตลาดหลักทรัพย์ตามแบบ F24-1 ภายใน 3 วันทำการ

.

➡หากคุณกำลังมองหาสำนักงานบัญชีออนไลน์ หรือตัวช่วยในการบริหารจัดการธุรกิจออนไลน์ AccRevo สามารถช่วยคุณได้

.

🔶ง่าย ครบ จบ! เรื่องการทำบัญชี

.

📊สนใจผู้ช่วยวางแผนโครงสร้างธุรกิจ

วางแผนภาษีและเครื่องมือจัดการธุรกิจดิจิทัล

ที่ตอบโจทย์ ติดต่อ AccRevo ได้เลยค่า

.

.

➡️ ติดตามข่าวสาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ID Line > https://page.line.me/accrevo

Facebook : https://www.facebook.com/accrevo

Instagram : www.instagram.com/accrevo_ai/

Youtube chanel : https://bit.ly/accrevo

Tiktok : https://bit.ly/accrevochannel

โทร : 096-297-4566

Website : www.accrevo.com

.

☑️☑️ สนใจทดลองใช้ระบบ AccRevo ☑️☑️

สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ทดลองใช้งานฟรี 30 วัน

คลิกที่ลิ้งค์เลยค่า >> https://bit.ly/2H8HqFE