สรุป ครบ ในที่เดียว วิธีการ “ประมาณการกำไรสุทธิ” เพื่อใช้ในการยื่น ภ.ง.ด.51

📚การประมาณการกําไรสุทธิ “เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (ภ.ง.ด.51)” ให้ถูกต้องและถูกใจกรมสรรพากร


📖ทำความรู้จักกับ “การประมาณการกําไรสุทธิ” ??

การประมาณการผลประกอบกิจการในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นๆ ก่อนสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี โดยผู้เสียภาษีอากรที่มีหน้าที่จัดทำประมาณการกำไรสุทธิ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51และชําระภาษีเงินได้ครึ่งปี จากประมาณการกำไรสุทธิที่ได้คาดการณ์ไว้

➡️เหตุผลที่ต้องมีประมาณการกําไรสุทธิ

1. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2.เพื่อเป็นการลดภาระภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ต้องจ่ายปีละครั้งลงกึ่งหนึ่ง

3. เพื่อส่งเสริมความสมัครใจในการเสียภาษี

4.เพื่อให้รัฐจัดเก็บรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลได้รวดเร็วขึ้น



👥ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ

1.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่วาจะประกอบกิจการประเภทใด หรือที่ใด ก็ตาม

2.บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในไทย และเป็นกิจการที่ไม่ใช่การขนส่งระหวางประเทศ

3.กิจการที่หากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ และเข้ามาประกอบกิจการในไทย เป็นกิจการอื่นใดที่ไม่ใช่การ ขนส่งระหว่างประเทศ

4.กิจการร่วมค้า (Joint Venture)


🏛กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดทำประมาณการ

1. มาตรา 38 แห่งประมวลรัษฎากร

2. มาตรา 65แห่งประมวลรัษฎากร

• รายได้จากความหมายของ “กำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร”

• รอบระยะเวลาบัญชี (ดูมาตรา 72 และมาตรา 73 ประกอบ)

• ประเภทรายได้ทางภาษีอากร

(กิจการและรายได้เนื่องจากกิจการ)

• เกณฑ์รับรู้รายได้ –รายจ่ายทางภาษีอากร

3.มาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

• เงื่อนไขเกี่ยวกับรายได้ (ม.65 ทวิ (4)(10)(11)(12)(14))

• เงื่อนไขเกี่ยวกับรายจ่าย (ม.65 ทวิ (1)(2)(7)(8)(9))

• หลักเกณฑ์ในการตีราคาทรัพย์สินและหนี้สินเพื่อการคํานวณรายได้และรายจ่าย (ม.65 ทวิ (3)(5)(6))

4. มาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร

• รายจ่ายต้องห้ามโดยแท้ (ม.65 ตรี (1)(2)(3)(5)(6 ทวิ)(9)(10)(11) (12)(13)(14)(16))

• รายจ่ายต้องห้ามโดยผลของกฎหมาย (ม.65 ทวิ (2)(4)(6)(7)(8)(9) (12)(15)(17)(18)(19)(20))

• รายจ่ายที่กฎหมายยอมให้ถือเป็นรายจ่ายได้ (Deductible Exp.)

5. มาตรา 67 แห่งประมวลรัษฎากร

6. มาตรา 67 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

• เฉพาะบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีหน้าที่เสีย CIT จากฐานกำไรสุทธิเท่านั้น

7. มาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร



📑ผู้เสียภาษีอากรต้องยื่นแบบอย่างไร ??

◾️ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดพร้อมกับชําระภาษีภายใน 2 เดือน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลา 6 เดือน นับแต่วันแรกของรอบ ระยะเวลาบัญชี


ผู้เสียภาษีอากรต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 อย่างไร ❓❔

1.กิจการทั่วไป และกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ฉบับเดียวกันและนําประมาณการกำไรสุทธิของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) หักออกในรายการที่ 2 (5) เพื่อให้ได้ประมาณการกำไรสุทธิที่ต้องนําไปคํานวณภาษีเงินได้ครึ่งปี

2.กิจการทั่วไป และกิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น ROH ให้ยื่น แบบ ภ.ง.ด.51 แยกเป็นรายกิจการ

◾️ ช่องทางการยื่นแบบ ภ.ง.ด.51

◾️ ยื่นที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทั่วประเทศ

◾️ยื่นทางอินเทอร์เน็ต www.rd.go.th



🌟วิธีการ “ประมาณการกำไรสุทธิ”

➡️ขั้นตอนที่ 1

การประมาณการโดยนําผลการประกอบกิจการจริง 6 เดือนแรก บวกกับผลประกอบการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนหลัง โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่คาดวาจะเกิดขึ้น 2 ด้าน ดังนี้

1. ด้านรายได้ ประกอบด้วย รายได้โดยตรง รายได้อื่น เช่น กำไรจากการจําหน่ายทรัพย์สิน และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

2. ด้านรายจ่าย ประกอบด้วย ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายขายและ บริหาร รายจ่ายอื่น เช่น ขาดทุนจากการจําหน่ายทรัพย์สิน และขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

*สำหรับรายจ่ายให้พิจารณาเรื่องรายจ่าย ต้องห้ามด้วย เพราะไม่สามารถนํามารวมคํานวณเป็นรายจ่ายในการ ประกอบกิจการกำไรสุทธิได้เช่นเดียวกับกรณีการยื่น แบบ ภ.ง.ด.50


➡️ขั้นตอนที่ 2

นําประมาณการกำไรสุทธิ มาคํานวณ เพื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 และพิจารณาว่าภาษีที่คํานวณได้ ตามแบบ ภ.ง.ด.51 มีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีที่คํานวณได้ ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วหรือไม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.50/2537ฯ ลว. 31 ส.ค.2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.152/2558ฯ

ทั้งนี้ กรณี มีการลดอัตราภาษีในปีที่ประมาณการ ให้พิจารณาตามข้อ 1 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.51/2537ฯ ลงวันที่ 31 ส.ค.2537 ด้วย


หากประมาณการกําไรสุทธิคลาดเคลื่อน มีความผิดหรือไม่ ⁉️

▪️มาตรา 67 ตรีในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67ทวิ (1) หรือยื่น รายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (1) โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย เงินเพิ่มอีก 20% ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม.67ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบ ระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี

▪️ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (2) หรือยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (2) ไว้ไม่ถูกต้อง โดยไม่มีเหตุอันสมควร ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องชําระขาดไป บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีก 20% ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม. 67 ทวิ (2) หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี ***เงินเพิ่มดังกล่าวให้ถือเป็นค่าภาษีและอาจลดลงได้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542ฯ

▪️กรณีที่ 2 บริษัทหรือหจก. ไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (2) หรือยื่น ไว้ไม่ถูกต้อง โดยไม่มีเหตุผลที่ควร ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องชําระขาดไป ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 20% ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม. 67 ทวิ (2) หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี

***เงินเพิ่มดังกล่าวให้ถือเป็นค่าภาษีและอาจลดลงได้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542ฯ



📖บทสรุปการประมาณการกำไรสุทธิ

ผู้เสียภาษีอากรต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และยื่นประมาณการกําไรสุทธิให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของการประกอบกิจการ


ที่มา : กรมสรรพากร


☑️☑️ สนใจทดลองใช้ระบบ AccRevo ☑️☑️

สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ทดลองใช้งานฟรี 30 วัน

คลิกที่ลิ้งค์เลยค่า >> https://bit.ly/2H8HqFE

➡️ ติดตามข่าวสาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ID Line : @accrevo

Facebook : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล

Instagram : accrevo_ai

Youtube chanel : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล

โทร : 086-531-6211

Website : www.accrevo.com