💻ในยุคดิจิทัลที่ธุรกิจต้องแข่งขันกันด้วยข้อมูลที่รวดเร็ว ส่งผลให้งานบัญชีจะต้องมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ในการทำงานด้านต่าง ๆ การบันทึกข้อมูลนำเข้านอกจากทำการบันทึกด้วยมือตามปกติแล้ว ในปัจจุบันงานบัญชียังมีการนำเข้าข้อมูลแบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการอ่านภาพถ่าย เช่น Optical Character Recognition (OCR) เพื่อแปลงข้อมูลที่เป็นกระดาษเป็นข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลที่พร้อมใช้ในงานบัญชี การเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ จากระบบอื่น ๆ เข้าสู่ระบบงานด้วยเทคโนโลยี Application Programming Interface (API) ความสะดวกเหล่านี้ทำให้การนำเข้าข้อมูลต่าง ๆ ดูเป็นเรื่องสะดวกสบายยิ่งขึ้นและสามารถนำเข้าข้อมูลเพื่อช่วยในการบันทึกบัญชีได้อย่างหลากหลาย
➡️โดย PDPA และบทบาทบัญชีในยุคดิจิทัลนี้ จะแบ่งเป็นหลักๆได้ดังนี้
1. การจำแนกข้อมูล
◾️ข้อมูลที่ธุรกิจจัดเก็บรวบรวมผ่านระบบงานต่างๆ ควรได้รับการจำแนกประเภทตามประเภทเจ้าของข้อมูล เช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลผู้จำหน่าย ข้อมูลพนักงาน
2. การประมวลผลข้อมูล
◾️ การประมวลผลข้อมูลตามกฎหมายนี้ หมายถึง เก็บรวบรวมการใช้ การเผยแพร่ และการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
3. ฐานของการประมวลผลข้อมูล
◾️ ในการที่ภาคธุรกิจจะสามารถประมวลผลข้อมูลได้โดยถูกต้องตาม PDPA มักมีความเข้าใจว่าจะต้องได้รับความยินยอมก่อนเสมอ แต่ในความเป็นจริง ฐานที่ให้เหตุผลอันชอบด้วยกฎหมายแก่ภาคธุรกิจในการประมวลผลข้อมูล มีหลายประการ
4. สิทธิของเจ้าของข้อมูล
◾️ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของตนหลายประการภายใต้ PDPA เช่น สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
5. หน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
◾️ “ผู้ควบคุมข้อมูล” หมายถึง บุคคลและนิติบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
6. บทลงโทษ
◾️ บทกำหนดโทษกรณีไม่ปฏิบัติตาม PDPA นี้ มีทั้งโทษทางแพ่งและทางอาญามีความรุนแรงถึงจำคุก โดยเฉพาะกรณีข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหว
👤บทความโดย
คุณราชิต ไชยรัตน์
CEO CNR Group & AccRevo
กรรมการในคณะกรรมการวิชาชีพบัญชี