ภาษีคุณหมอกับการหักค่าใช้จ่ายและการลดหย่อนภาษี

👩‍⚕️เรื่องสำคัญที่คุณหมอต้องรู้ !


ภาษีคุณหมอกับการหักค่าใช้จ่ายและการลดหย่อนภาษี


💲เงินได้ประเภทที่ 1

▪️เงินเดือนที่รับจากโรงพยาบาลที่ทำประจำ กรณีที่คุณหมอทำงานประจำและรับค่าตอบแทนจากโรงพยาบาลในรุปของเงินและค่าเวร ที่โรงพยาบาลจ่ายให้เป็นเงินได้ หากค่าตอบแทนที่คุณหมอได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงาน ค่า ตอบแทนดังกล่าว ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร แม้ว่างานที่ปฏิบัตินั้นจะใช้วิชาการทางการประกอบ โรคศิลปะอันเป็นวิชาชีพอิสระก็ตาม และเงินได้เนื่องจาก การจ้างแรงงาน หมายรวมถึง เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้รับ เนื่องจากการจ้างแรงงาน

➡️การหักค่าใช้จ่าย

▪️หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

➡️การหักค่าลดหย่อน

▪️หักค่าลดหย่อนตามที่กฎหมายกำหนด


💲เงินได้ประเภทที่ 2

▪️เงินได้จากโรงพยาบาลที่คุณหมอไม่ได้ทำประจำ แต่เป็นเงินได้จากการรับทำงานให้ตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน หากค่าตอบแทนที่คุณหมอได้รับเนื่องจากหน้าที่หรือ ตำแหน่งงานที่ทำหรือจากการรับทำงานให้ ซึ่งรวมถึง เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากหน้าที่หรือตำแหน่งที่ทำหรือ จากการรับทำงานให้ ไม่ว่าหน้าที่หรือตำแหน่งงานหรืองานที่ รับทำให้นั้นจะเป็นการประจำหรือชั่วคราว ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตาม มาตรา 40(2) แห่งประมวลรัษฎากร

➡️การหักค่าใช้จ่าย

▪️หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

➡️การหักค่าลดหย่อน

▪️หักค่าลดหย่อนตามที่กฎหมายกำหนด


💲เงินได้ประเภทที่ 6

▪️รายได้จากคลินิก เงินได้จากการประกอบวืชาชีพแพทย์จากการเปิดคลีนิกรับรักษาคนไข้ สำหรับค่าตอบแทนที่แพทย์ได้รับ ซึ่งจะถือเป็นเงินได้ พึงประเมินตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องปรากฏว่าแพทย์ได้เปิดคลินิกรักษาคนไข้เป็นการส่วนตัว หรือแพทย์ทำสัญญาหรือ ตกลงกับสถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่ เครื่องมือและ อุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะในนามของแพทย์ เพื่อตรวจและรักษาผู้ป่วยโดย แพทย์เป็นผู้เรียกเก็บค่าตรวจรักษาเองและมีข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วยให้แก่สถานพยาบาลเป็นลายลักษณ์อักษร หรือแพทย์ทำสัญญาหรือตกลงกับ สถานพยาบาลเพื่อขอใช้สถานที่เครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อประกอบโรคศิลปะในนามของแพทย์เพื่อ ตรวจและรักษาผู้ป่วย และมี ข้อตกลงแบ่งเงินค่าตรวจรักษาที่ได้รับจากผู้ป่วย โดยสถานพยาบาลเป็นผู้เรียกเก็บค่าตรวจรักษาแทนแพทย์ แล้วนำมาจ่ายให้กับแพทย์เพื่อแบ่งรายได้ให้สถานพยาบาล เงินได้ที่แพทย์เรียกเก็บจากผู้ป่วยทั้งจำนวนเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่เฉพาะส่วนแบ่งที่เหลือหลังจากหักส่วนแบ่งของสถานพยาบาลออก

➡️การหักค่าใช้จ่าย

▪️เลือกหักแบบเหมาร้อยละ 60 หรือหักตามจริง

➡️การหักค่าลดหย่อน

▪️หักค่าลดหย่อนตามที่กฎหมายกำหนด


💲เงินได้ประเภทที่ 8

▪️รายได้จากการเปิดสถานพยาบาลของตนเองที่มีเตียงและรับผู้ป่วยค้างคืน กรณีแพทย์เปิดกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลโดยมีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน รวมทั้งการตรวจรักษาพยาบาล และจำหน่ายยา กรณีนี้ไม่ถือเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระตามมาตรา 40 (6) แต่ถือเป็นเงินได้จากการประกอบธุรกิจ ตามมาตรา 40 (8)

➡️การหักค่าใช้จ่าย

▪️เลือกหักแบบเหมาร้อยละ 60 หรือหักตามจริง

➡️การหักค่าลดหย่อน

▪️หักค่าลดหย่อนตามที่กฎหมายกำหนด




📊สนใจผู้ช่วยวางแผนโครงสร้างธุรกิจ วางแผนภาษีและเครื่องมือจัดการธุรกิจดิจิทัลที่ตอบโจทย์ ติดต่อ AccRevo ได้เลยค่า

.

☑️☑️สนใจทดลองใช้ระบบ AccRevo ☑️☑️

สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ทดลองใช้งานฟรี 30 วัน

คลิกที่ลิ้งค์เลยค่า >> https://bit.ly/2H8HqFE

➡️ติดตามข่าวสาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ID Line : @accrevo

Facebook : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล

Instagram : accrevo_ai

Youtube chanel : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล

โทร : 086-531-6211

Website : www.accrevo.com

#AccRevo

#AccountingIntelligencePlatform

#สำนักงานบัญชีดิจิทัล

#เงินได้แพทย์