📊อัตราส่วนประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ (Assets Management Ratios)
อัตราส่วนที่ใช้วัดทรัพยากรที่มีอยู่ว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่ สินทรัพย์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ เช่น สินทรัพย์รวม ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือและยังใช้ประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของกิจการได้
➡อัตราส่วนประสิทธิภาพในการบริหารสินทรัพย์ ประกอบด้วย
1. อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover)
▪ เป็นการวัดอัตราส่วนเปรียบเทียบยอดขายกับสินทรัพย์รวม
2. อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้ (Account Receivable Turnover)
▪ เป็นการวัดอัตราส่วนเปรียบเทียบยอดขายสุทธิกับลูกหนี้การค้า
3. ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย (Average Collection Period)
▪ แสดงถึงจำนวนวันในการเก็บเงินจากลูกหนี้ของกิจการ
4. อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover Ratio)
▪ เป็นการวัดอัตราส่วนเปรียบเทียบยอดขายสุทธิกับสินค้าคงเหลือ
5. ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย (Average Inventory Period)
▪ ถึงจำนวนวันที่กิจการเก็บหรือมีสินค้าคงเหลือเพื่อขาย
6. อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า (Account Payable Turnover Ratio)
▪ เป็นการวัดอัตราส่วนเปรียบเทียบต้นทุนขายกับเจ้าหนี้การค้า
7. ระยะเวลาชำระหนี้เจ้าหนี้การค้า (Average Payment Period)
▪ แสดงถึงจำนวนวันที่กิจการต้องชำระหนี้ทางการค้า
8. วงจรเงินสด (Cash Cycle)
▪ รอบระยะเวลาขายสินค้าและระยะเวลาเก็บหนี้ เทียบกับระยะเวลาชำระหนี้
อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover)
เป็นการวัดอัตราส่วนเปรียบเทียบยอดขายกับสินทรัพย์รวม แสดงถึงความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์ทั้งหมดที่กิจการมี
➡️อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม = ยอดขาย ÷ สินทรัพย์รวม (เท่า)
🌟ค่าที่ได้
▪️อัตราส่วนนี้ยิ่งสูงยิ่งดี : เพราะ แสดงถึงการมีประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่ได้ดี กิจการไม่จำเป็นต้องใช้สินทรัพย์มากในการขยายกิจการ
▪️อัตราส่วนนี้มีค่าที่ต่ำ : กิจการอาจใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่อย่างไม่เต็มที่หรือเป็นกิจการที่จำเป็นต้องลงทุนสูงเพื่อดำเนินกิจการ
✅ค่าที่ควรเป็น : ควรมีค่ามาก
ตัวอย่าง อัตราส่วนหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม
= 1,901,000 ÷ 1,190,000 = 1.60 (เท่า)
🗣อธิบายได้ว่า สินทรัพย์รวมที่มี สามารถนำไปสร้างยอดขายได้ 1.60 เท่า
*ข้อสังเกต อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันในแต่ละอุตสาหกรรม เช่น กิจการการผลิตมักจะมีสินทรัพย์จำพวกโรงงานและเครื่องจักร ที่มากกว่ากิจการการบริการพวกธุรกิจค้าปลีกที่พึ่งพิงสินทรัพย์น้อยกว่า
อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า
อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า เป็นการวัดอัตราส่วนเปรียบเทียบยอดขายสุทธิกับลูกหนี้การค้า แสดงถึงจำนวนครั้งของวงจรลูกหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชี
➡️อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า = ขายสุทธิ / ขายเชื่อสุทธิ ÷ ลูกหนี้การค้าเฉลี่ย (เท่า)
✅ค่าที่ควรเป็น : ควรมีค่ามาก
🗒ระยะเวลาเก็บหนี้เฉลี่ย แสดงถึงจำนวนวันในการเก็บเงินจากลูกหนี้ของกิจการ ทำให้ทราบถึงคุณภาพของลูกหนี้ ประสิทธิภาพในการเก็บหนี้ และนโยบายการให้สินเชื่อของกิจการ
➡️ระยะเวลาการเก็บหนี้เฉลี่ย = 365 ÷ อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้การค้า (วัน)
✅ค่าที่ได้ : จำนวนวันที่น้อย แสดงว่ากิจการสามารถเก็บหนี้ได้เร็ว
อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ
เป็นการวัดอัตราส่วนระหว่างต้นทุนขายกับสินค้าคงเหลือ แสดงถึงจำนวนครั้งที่สามารถขายสินค้าคงเหลือออกไปได้ในรอบระยะเวลาบัญชี
➡อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ = ต้นทุนขาย ÷ สินค้าคงเหลือถัวเฉลี่ย (เท่า)
✅ค่าที่ได้ : ควรมีค่ามาก
🗒ระยะเวลาขายสินเชื่อเฉลี่ย จำนวนวันที่กิจการเก็บหรือมีสินค้าคงเหลือเพื่อขาย ทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพในการบริหารสินค้าคงเหลือ และระยะเวลาถือครองสินค้า
➡ระยะเวลาขายสินค้าเฉลี่ย = 365 ÷ อัตราหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ (วัน)
✅ค่าที่ได้ : จำนวนวันที่น้อย แสดงว่ากิจการสามารถจำหน่ายสินค้าได้เร็ว
📊อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า (Account Payable Turnover Ratio)
เป็นการวัดอัตราส่วนเปรียบเทียบต้นทุนขายกับเจ้าหนี้การค้าแสดงถึงจำนวนครั้งของการชำระหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชี
➡อัตราส่วนหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า = ต้นทุนขาย หรือซื้อเชื่อ ÷ เจ้าหนี้การค้าถัวเฉลี่ย (เท่า)
🌟ค่าที่ได้ : ควรมีค่าน้อย
🗒ระยะเวลาชำระหนี้เจ้าหนี้การค้า (Average Payment Period) แสดงถึงจำนวนวันที่กิจการต้องชำระหนี้ทางการค้า ทำให้ทราบถึงประสิทธิภาพในการบริหารเจ้าหนี้ เครดิจเทอมที่กิจการได้จากเจ้าหนี้มากหรือน้อย
➡ระยะเวลาชำระหนี้เจ้าหนี้การค้า = 365 ÷ อัตราหมุนเวียนเจ้าหนี้การค้า (วัน)
🌟ค่าที่ได้ : จำนวนวันที่มาก แสดงว่ากิจการสามารถยืดระยะเวลาชำระหนี้ได้นาน ทำให้สภาพคล่องดี
♻️ วงจรเงินสด (Cash Conversion Cycle)
◾ รอบระยะเวลาที่กิจการได้รับสินค้า ขายสินค้า และได้รับเงินจากลูกค้า เทียบกับระยะเวลาชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้การค้า
💸 วงจรเงินสด = ระยะเวลาขายสินค้า + ระยะเวลาเก็บหนี้ - ระยะเวลาชำระหนี้
🌟 ค่าที่ได้
🟢 วงจรเงินสดยิ่งสั้นยิ่งดี (มีค่าน้อย) แสดงว่า กิจการมีสภาพคล่องสูง สามารถขายสินค้าและเก็บเงินจากลูกหนี้ได้เร็ว เมื่อเทียบกับระยะเวลาในการชำระหนี้ให้เจ้าหนี้
🔴 วงจรเงินสดมีค่ามาก แสดงว่า กิจการต้องชำระหนี้เร็วกว่าการขายสินค้า และเก็บเงินจากลูกหนี้ จะทำให้เงินสดในกิจการลดลงอาจจำเป็นต้องหาเงินทุนหมุนเวียนมาเพิ่ม
➡ ค่าที่ควรเป็น วงจรเงินสดควรมีค่าน้อย
📈 วงจรเงินสดที่ดี คือ มีระยะสั้น
✅ ลดระยะเวลาการขายสินค้า
✅ ลดระยะเวลาการเก็บหนี้
✅ ยืดระยะเวลาการชำระหนี้
.
📊สนใจผู้ช่วยวางแผนโครงสร้างธุรกิจ วางแผนภาษีและเครื่องมือจัดการธุรกิจดิจิทัลที่ตอบโจทย์ ติดต่อ AccRevo ได้เลยค่า📊สนใจผู้ช่วยวางแผนโครงสร้างธุรกิจ วางแผนภาษีและเครื่องมือจัดการธุรกิจดิจิทัลที่ตอบโจทย์ ติดต่อ AccRevo ได้เลยค่า
.
☑️☑️สนใจทดลองใช้ระบบ AccRevo ☑️☑️
สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ทดลองใช้งานฟรี 30 วัน
คลิกที่ลิ้งค์เลยค่า >> https://bit.ly/2H8HqFE
➡️ติดตามข่าวสาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ID Line : @accrevo
Facebook : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล
Instagram : accrevo_ai
Youtube chanel : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล
โทร : 086-531-6211
Website : www.accrevo.com