7 ขั้นตอนในการวางแผนภาษีของมนุษย์เงินเดือน

👨‍💼 7 ขั้นตอนในการวางแผนภาษีของมนุษย์เงินเดือน

เชื่อว่า พนักงานหลายๆคน ไม่รู้วิธีการวางแผนภาษีของตัวเอง ทั้งที่การวางแผนภาษีนั้นจะช่วยให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ช่วยลดหย่อนภาษีได้เป็นอย่างมาก ฉะนั้น ผู้มีเงินได้ควรที่จะต้องศึกษา หรือขอคำแนะนำจากนักบัญชีหรือผู้เชี่ยวชาญในด้านภาษี และติดตามข่าวสาร การเปลี่ยนแปลงของสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่างๆอยู่เสมอ

➡️มาดูกันนะคะว่า 7 ขั้นตอนในการวางแผนภาษีของมนุษย์เงินเดือน (เงินได้มาตรา 40(1)) นั้นจะมีอะไรบ้าง ??

1.คำนวณหาเงินได้พึงประเมินทั้งปี

เงินได้พึงประเมิน คือ เงินเดือนหรือรายได้ทั้งปีมีเท่าไร โดยรายได้รวมทั้งปีของมนุษย์เงินเดือนประกอบด้วยรายได้หลัก 4 ประเภทคือ

1.1. เงินเดือนประจำ (รวมทั้งปี)

1.2. เงินโบนัส

1.3. ค่าล่วงเวลาหรือ OT (ถ้ามี)

1.4. เงินพิเศษอื่นๆ เช่น ภาษีที่นายจ้างออกให้ หรือมีที่พักฟรี

2.มีเงินได้พึงประเมินขั้นต่ำเท่าไรที่ไม่ต้องเสียภาษี

มนุษย์เงินเดือนที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ “ผู้มีเงินได้พึงประเมินรวมทั้งปีไม่เกิน 310,000 บาทต่อปี”

📊การคำนวณเงินได้สุทธิสรุปได้ดังนี้

รายการที่ 1 : เงินได้มาตรา 40 (1) หักค่าใช้จ่ายได้ 50% สูงสุด 100,000 บาท

รายการที่ 2 : ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท

รายการที่ 3 : ยกเว้นภาษี ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก

3.หาค่าลดหย่อนแบบมีเงื่อนไขให้มากที่สุด เป็นเรื่องเฉพาะบุคคล

หากเรามีเงินได้ทั้งปีมากกว่า 310,000 บาท เราจำเป็นที่จะต้องเริ่มต้นวางแผนภาษีแล้ว โดยผู้ที่มีเงินได้ต้องสำรวจค้นหาค่าลดหย่อนแบบมีเงื่อนไขในเบื้องต้นก่อนว่า สามารถนำมาใช้ลดหย่อนภาษีใดได้บ้าง

พยายามสร้างเงื่อนไขให้เข้ามามากที่สุด เพราะการลดหย่อนแบบมีเงื่อนไข ทำให้ผู้มีเงินได้ได้รับประโยชน์ไม่เท่ากัน โดยตัวอย่างค่าลดหย่อนแบบมีเงื่อนไข มีดังนี้

3.1. ค่าลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคม

3.2. ค่าลดหย่อนกรณีสมรส

3.3. ค่าลดหย่อนบุตร

3.4. ค่าฝากครรภ์และทำคลอด

3.5. เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง

3.6. มีบิดามาดราที่ต้องอุปการะเลี้ยงดู

3.7. มีภาระที่ต้องเลี้ยงดูผู้พิการ

3.8. มีค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามาดรา

4.วางแผนการออมและการลงทุนเพื่อการลดหย่อนภาษี

เพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด โดยมีทั้งหมด 5 เรื่องดังนี้

4.1. เรื่องการลงทุน การซื้อประกันชีวิต

4.2. เรื่องการลงทุน ในเรื่องที่อยู่อาศัย

4.3. เรื่องการลงทุน การซื้อกองทุนเพื่อการออม SSF

4.4. เรื่องการลงทุน การซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF

4.5. เรื่องการลงทุน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

5.ศึกษาสิทธิหักค่าลดหย่อนภาษีกรณีพิเศษจากภาครัฐ

การลดหย่อนกรณีพิเศษมักมีโอกาสเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งหากมีเหตุการณ์สำคัญต่างๆเกิดขึ้น กรมสรรพากรจะเข้ามาจัดรายการพิเศษ เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน โดยการลดหย่อนภาษีให้หรือขยายระยะเวลาการยื่นแบบภาษี เพื่อให้

◾️ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้มีเงินได้

◾️ เพื่อเป็นนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจในบางเรื่อง ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

◾️ การลดหย่อนภาษีกรณีพิเศษ มักมีเงื่อนไขที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติม

◾️ มีการกำหนดระยะเวลาในการลดหย่อนภาษี เช่น 1-2 ปี เป็นต้น

6.ลดหย่อนด้วยเงินบริจาคกรณีต่างๆ

การทำบุญนอกจากจะได้บุญกุศลแล้ว ใบอนุโมทนาหรือใบเสร็จเงินบริจาคยังสามารถนำมาช่วยให้ผู้มีเงินได้จ่ายภาษีน้อยลงอีกด้วย

การบริจาคในรูปแบบใดบ้าง ที่กรมสรรพากรกำหนดเกณฑ์ในการนำมาหักค่าลดหย่อนได้

◾️ กรมสรรพากรได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริจาคต่างๆ ไว้ชัดเจน ซึ่งจะต้องศึกษาเงื่อนไขรายละเอียดให้ดี

◾️ หน่วยงานที่บริจาคและสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ มีประกาศไว้ชัดเจน สามารถหาดูได้ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากร

◾️ กำหนดระยะเวลาในการบริจาค โดยสามารถนำมาหักค่าลดหย่อนภาษีกรณีพิเศษ

◾️ กำหนดเพดานสูงสุดในการบริจาค หากบริจาคเกิดกว่าเพดานพี่สรรพากรกำหนด ส่วนเกินนั้นไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้

◾️ กฎเกณฑ์และเงื่อนไขในการบริจาคอาจมีปรับเพิ่มลดหรือเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อย ผู้บริจาคต้องดูให้ดี เพื่อประโยชน์สูงสุดในการประหยัดภาษีเฉพาะกรณีของท่าน

7.นำเงินได้สุทธิมาประเมินเพื่อเสียภาษีต่อไป ตามตารางภาษีของกรมสรรพากร

📊สูตรในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิ (4) = เงินได้พึงประเมิน (1) – ค่าใช้จ่าย (2) – ค่าลดหย่อนและการบริจาค (3)

ต้องหาเงินได้สุทธิเพื่อนำเงินได้สุทธิมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเทียบจากตารางภาษีที่กรมสรรพากรกำหนด

➡️จากนั้น ให้นำ : เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

📊สนใจผู้ช่วยวางแผนโครงสร้างธุรกิจ วางแผนภาษีและเครื่องมือจัดการธุรกิจดิจิทัลที่ตอบโจทย์ ติดต่อ AccRevo ได้เลยค่า

.

☑️☑️สนใจทดลองใช้ระบบ AccRevo ☑️☑️

สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ทดลองใช้งานฟรี 30 วัน

คลิกที่ลิ้งค์เลยค่า >> https://bit.ly/2H8HqFE

➡️ติดตามข่าวสาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

ID Line : @accrevo

Facebook : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล

Instagram : accrevo_ai

Youtube chanel : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล

โทร : 086-531-6211

Website : www.accrevo.com