หลายๆ ธุรกิจอาจกำลังประสบปัญหาการขอทำลายสินค้า 💥 เกิดขึ้นเนื่องจากสินค้าที่เสื่อมคุณภาพ สินค้าที่มีตำหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ และเศษซาก แล้วทำไมเราถึงต้องทำลายสินค้า มีวิธีการดำเนินการกันอย่างไรบ้าง❓ วันนี้เรามาค้นหาคำตอบกันค่ะ
📌 ประเภทสินค้าที่รอการทำลาย แบ่งเป็น 6 ประเภท
1.ของเสีย
2.สินค้าเสื่อมสภาพ
3.สินค้ามีตำหนิ
4.สินค้าที่หมดสมัยนิยม
5.สินค้าหมดอายุ
6.เศษซาก
🔸 แนวทางปฏิบัติในการทำลายสินค้า แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
▪️ ของเสียเก็บได้
▪️ ของเสียเก็บไม่ได้
🔎 การทำลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซาก ที่โดยสภาพสามารถเก็บรักษาและ รอการทำลายพร้อมกันได้
มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้ 👉
➡️ แจ้งกรมสรรพากรให้ทราบล่วงหน้า อย่างน้อย 30 วัน ก่อนการทำลาย
และดำเนินการต่อไปตาม Checklist ของเสียเก็บไม่ได้ ก่อนเข้าสู่การดำเนินการทำลาย
🔎 การทำลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซาก ที่โดยสภาพไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้
มีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้ 👉
1.ต้องมีการตรวจสอบสภาพสินค้า
2.ได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจในการพิจารณาให้เป็นสินค้าเสียหาย
3.กรณีสินค้าที่ได้รับคืน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะต้องมีเอกสารหลักฐานการรับคืนสินค้า และให้มีการลงลายมือชื่อของลูกค้าที่คืนสินค้า พนักงานที่รับคืนสินค้าด้วย
4.ให้พนักงานฝ่ายคลังสินค้าที่เก็บรักษาสินค้าเสียหายตรวจนับและ ลงลายมือชื่อกำกับไว้ พร้อมทั้งแจ้งให้ฝ่ายบัญชีทราบด้วย
💥 ข้อปฏิบัติในวันทำลายสินค้า
➡️ ให้มีบุคคลประกอบด้วย ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายตรวจสอบ ฝ่ายบัญชี ในการร่วมสังเกตการณ์ และลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำลาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี
➡️ เชิญผู้สอบบัญชีมาเป็นพยานในการทำลาย ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่กรมสรรพากรร่วมเป็นพยานในการทำลายก็ได้
📝 ที่มาข้อมูลจาก กรมสรรพากร
☑️☑️ สนใจทดลองใช้ระบบ AccRevo ☑️☑️
สามารถลงทะเบียนรับสิทธิ์ทดลองใช้งานฟรี 30 วัน
คลิกที่ลิ้งค์เลยค่า >> https://bit.ly/2H8HqFE
➡️ ติดตามข่าวสาร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ID Line : @accrevo
Facebook : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล
Instagram : accrevo_ai
Youtube chanel : Accrevo : Platform บัญชีดิจิทัล
โทร : 086-531-6211
Website : www.accrevo.com